รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า ขณะนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ยังอยู่ในขั้นตอนการส่งมอบพื้นที่สาธารณะให้ผู้รับจ้างทั้ง 5 สัญญา โดยบางสัญญาเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างแล้ว ซึ่งกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้ส่งมอบพื้นที่ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อใช้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ สัญญา 3-5 มาแล้วก่อนหน้านี้ ขณะที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อปลายเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา อนุมัติให้เข้าใช้พื้นที่ก่อสร้างแล้ว อยู่ระหว่างขั้นตอนทางเอกสารในการส่งมอบพื้นที่ให้แก่ รฟมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. คาดว่า รฟม. จะเข้าใช้พื้นที่สาธารณะได้ครบ 100% ภายในต้นเดือน ต.ค. 65

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า พื้นที่สาธารณะในส่วนของ กทม. เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ 75% ของพื้นที่สาธารณะที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ทั้งโครงการ 5 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ และสัญญาที่ 2 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้า ดำเนินการโดย CKST-PL JOINT VENTURE ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน),คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

สัญญาที่ 3 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงผ่านฟ้า-สะพานพุทธ ดำเนินการโดย ITD – NWR MRT JOINT VENTURE ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน), สัญญาที่ 4 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า-ดาวคะนอง ดำเนินการโดยบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และสัญญาที่ 5 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ ช่วงดาวคะนอง-ครุใน อาคารจอดรถไฟฟ้า (Stabling Yard) และอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) ดำเนินการโดยบริษัท อิตาเลียนไทยฯ

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ขณะนี้ รฟม. ยังรอการตอบรับในการขอใช้ที่ดินที่อยู่ในครอบครองของหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ โดยล่าสุดกรมศิลปากรได้แจ้ง รฟม. แล้วว่า มีโบราณสถานที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ อาทิ โบราณสถานตึกแขก (สถานีศรีย่าน), โบราณสถานรั้ววังบางขุนพรหม (สถานีบางขุนพรหม), แนวกำแพงเรือนจำและป้อมมุมกำแพง (สถานีสามยอด), โบราณสถานตึกแถวริมถนนพระสุเมรุ ช่วงปลาย (สถานีผ่านฟ้า) และโบราณสถานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และวงเวียนใหญ่ (สถานีวงเวียนใหญ่) เป็นต้น ซึ่ง รฟม. ต้องดำเนินการตามแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานดังกล่าว ที่กรมศิลปากรกำหนดให้ดำเนินการด้วย

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ส่วนการขอใช้พื้นที่หอสมุดแห่งชาตินั้น ทางกรมศิลปากรไม่อนุญาตให้ รฟม. ใช้พื้นที่ใต้ดิน ซึ่งล้ำเข้ามาในเขตที่ดินหอสมุดแห่งชาติในระยะ 10 เมตร เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบกับภูมิทัศน์ของหอสมุดแห่งชาติ และต้นไม้ใหญ่ นอกจากนี้ให้ รฟม. จัดทำรูปแบบทางขึ้น-ลง บริเวณหน้าหอวชิราวุธานุสรณ์ เพื่อขออนุญาตกรมศิลปากรอีกครั้ง อย่างไรก็ตามการไม่อนุญาตให้ใช้เขตที่ดินหอสมุดแห่งชาติ อาจส่งผลให้ รฟม. ต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ซึ่งแนวทางสุดท้ายอาจต้องยกเลิกสถานีหอสมุดแห่งชาติ และปรับแผนงานใหม่ พร้อมทำรายงานเปลี่ยนแปลงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โดยการดำเนินการดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อแผนงานการก่อสร้าง และการเปิดให้บริการอาจต้องล่าช้าออกไปจากแผนงาน

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) วงเงินประมาณ 8.2 หมื่นล้านบาท ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร (กม.) เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กม. 10 สถานี และทางวิ่งยกระดับ 10 กม. 7 สถานี ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี เปิดให้บริการประมาณปลายปี 70.

By admin